รีวิว Lion จนกว่าจะพบกัน

   หนังที่สร้างมาจากเรื่องจริงของชายหนุ่มที่พลัดพลากกับครอบครัวตัวเอง จนได้มาอยู่กับพ่อแม่อุปถัมภ์เลี้ยงดูมาจน 25 ปีผ่านไปถึงได้เริ่มออกตามหาครอบครัว ที่อยู่บ้านเกิดเก่าสักทีภายหลังที่โลกได้กำเนิดแอพหาแผนที่ยอดนิยมอย่าง Google Earth …ในส่วนของเนื้อหาหนัง ได้แบ่งส่วนออกเป็น 2 ส่วนคือ ภาคที่เล่าเรื่องตั้งแต่วัยเด็กของหนูน้อยคนนี้ว่าเป็นมาอย่างไร รีวิว Lion จนกว่าจะพบกัน

ดูหนังออนไลน์ นับว่าเป็นการปูเรื่องที่ดีและน่าติดตามอย่างที่สุดเพราะหนังสามารถถ่ายทอดบรรยากาศของความกันดาร ความลำบากของชีวิตครอบครัวหนึ่งที่ต้องดิ้นรน และมันยังสะท้อนปัญหาสังคมของประเทศได้อย่างดีอย่างการที่เราเห็นเด็กเร่ร่อนไปทั่วตามท้องถนน
เมื่อหนังเข้าสู่ครึ่งเรื่องหลัง หนังเน้นไปที่ปมปัญหาที่คาใจของตัวละครที่ยังคงนึกถึงและเกิดภาพหลอนถึงพี่ชายกับคนในครอบครัว ซึ่งอาจจะรู้สึกว่ามันไม่ดึงดูด (หรือไม่มันส์อารมณ์) เท่าครึ่งเรื่องแรกที่ปูมา แต่ก็นับว่ายังพอให้ติดตามต่อไปได้ไม่ถึงกับน่าเบื่อแม้หนังจะเดินเรื่องเนิบๆ ไปบ้างแต่ขอรับประกันเลยว่า เมื่อดูจนจบแล้ว หนังเรื่องนี้ให้ความประทับใจอย่างแน่นอน
รีวิว Lion จนกว่าจะพบกัน
ดารานักแสดงของเรื่องก็เล่นได้ดี เดฟ พาเทล ก็สามารถถ่ายทอดอารมณ์ออกมาได้ดี น่าเชื่อ ส่วนนิโคล คิดแมน รายนี้ก็ขวัญใจผมเลย เธอเล่นได้ดีและน่าเอาใจช่วยมาก บทคุณแม่ผู้อุปถัมภ์นี้เข้ากับเธอมากๆ …แต่ที่ต้องชื่นชมจริงๆ และก็แทบจะจำบทบาทไปได้เลยก็คือหนูน้อยที่รับบทเป็นซารูในตอนเด็ก Sunny Pawar
ดูหนัง สรุปเลยล่ะกันว่า Lion เป็นหนังดราม่าชีวิตที่สร้างมาจากเรื่องจริงที่น่าชื่นชมและเหมาะสำหรับคนที่ชอบหนังดราม่า สายสัมพันธ์ของครอบครัว เนื้อเรื่องน่าติดตาม บทสรุปทำได้ดีและอาจจะมีน้ำตาซึมกันบ้างล่ะ …
ในบรรดาหนังที่เข้าฉายในสัปดาห์แรกของปี 2560 Lion ถือเป็นหนังเรื่องที่โปรโมทน้อยมากๆ เรียกว่าถ้าไม่เคยดูตัวอย่างก็จะไม่รู้เลยว่าหนังเรื่องนี้เข้าฉายเมื่อไหร่ แต่ขอโทษนะครับ ต้องขอบอกว่าใครได้ดูรับรองจะอิ่มเอมหัวใจออกมาจากโรงหนังแน่นอน เพราะหนังสร้างแรงบันดาลใจให้คนดูได้ดีเหลือเกิน
เรื่องราวของ ซารู (เดฟ พาเทล) ชายชาวอินเดียที่พลัดหลงจากครอบครัวชาวอินเดียที่สถานนีรถไฟเมื่อครังที่มีอายุเพียง 5 ขวบ และได้รับการอุปถัมภ์จากคู่สามีภรรยาชาวออสเตรเลีย (เดวิด เวนแฮม และ นิโคล คิดแมน) ซารู ได้ถูกเลี้ยงดูให้เป็นหนุ่มชาวออสซี่ อย่างเต็มตัวและเมื่อเติบโตขึ้นมามันทำให้เขาอดที่จะนึกถึงหรือโหยหาอดีตของเขาไม่ได้ ซารู ตัดสินใจเดินทางเพื่อตามหาครอบครัวที่เขาจากมาตั้งแต่วัยเยาว์ โดยการใช้ Google Earth เพื่อตามหาอดีตที่ฝังลึกอยู่ในใจ โดยไม่อาจรู้ได้ว่า ครอบครัวแม่และพี่ชายของเขานั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่
ผมชอบการเล่าเรื่องของหนังเรื่องนี้มากๆ เรียกว่าหนังต้องการจะเจาะเข้าไปให้ถึงขั้วหัวใจของคนดูเลยก็ว่าได้ หนังเล่าเรื่องผ่านตัวละคร ซารู ตอนเด็กว่าชีวิตอันแร้นแค้นแต่กลับมีความสุขอย่างเหลือเชื่อของ ซารู ในวัยเด็กเป็นมายังไง ความรักอันอบอุ่นของแม่และพี่ชายที่ทำให้ ซารู ไม่อาจลืมได้แม้ว่าจะล่วงเลยไปถึง 25 ปี ซึ่งถ้าช่วงแรกของหนังไม่ปูมาได้ถึงแก่นขนาดนี้ เชื่อว่าคนดูคงไม่อินกับช่วงหลังของหนังแน่นอน โดยบางอารมณ์หนังใช้ภาพเล่าแทนการพูดได้อย่างเข้าถึงอารมณ์อย่างเหลือเชื่อ
จุดแข็งเป๊กของหนังสำหรับผมผมให้เป็นเรื่องของงานภาพและมุมกล้อง ที่อย่างที่บอกไปว่า หนังสามารถบอกเล่าเรื่องราวได้จากภาพที่ไม่ต้องมีคำพูดก็แสดงออกได้อย่างชัดเจน หนังยังมีกิมมิคที่ทำให้คนดูอินแบบมีน้ำหนักมากขึ้นอีก คือการเล่าเรื่องผ่านมุมมองแบบ Bird Eyes View ที่จะสามารถทำให้คนดูรู้สึกและเห็นภาพเหมือนกับที่ ซารู เห็น หนังใช้มุมกล้องนี้บอกเล่าเส้นทางการวิ่งกลับบ้านของเจ้าหนู ซารู และใช้มุมกล้องนี้ล้อไปกับการคิดทบทวนเส้นทางบน Google Earth ของ ซารู ตอนโต ซึ่งมันเป็นเหตุและผลที่สนับสนุนกันและกันได้อย่างดีเยี่ยม
นักแสดง เรื่องนี้ผมยกเครดิตให้เจ้าหนู Sunny Pawar มาเป็นที่หนึ่ง ด้วยเรื่องราวในวัยเด็กของ ซารู ที่เจ้าหนูคนนี้ถ่ายทอดออกมา มันบ่งบอกทุกอย่างของความเป็น ซารู ที่ทำให้เมื่อโตขึ้น เขาต้องพยายามค้นหาเส้นทางกลับบ้านให้เจอให้ได้ ตรงนี้หนังเล่าได้ดีก็ส่วนหนึ่ง แต่เจ้าหนู Sunny Pawar ก็ทำได้ดีมากๆ ด้วย กับตัว Dev Patel เรื่องฝีมือไม่ใช่ขี้เหร่เลย เพียงแต่เรื่องนี้ ซารู ตอนโตไม่ได้เด่นไปกว่าตอนเด็กสักเท่าไหร่ ถ้าดูองค์ประกอบโดยรวม บทของตอนโตยังไม่เด่นเท่าตอนเด็กด้วยซ้ำ นักแสดงคนอื่นๆ ที่เห็นว่ามีความสำคัญรองลงมาน่าจะเป็น Nicole Kidman ที่แแกมาไม่กี่ฉากแต่ก็กระชากอารมณ์คนดูได้ดีเหลือเกิน ส่วน Rooney Mara ผมว่ายังดูเป็นตัวประกอบไปหน่อย
สำหรับผมหนังเรื่องนี้ความยอกเยี่ยมทุกอย่างมันค่อนข้างลงตัว ยิ่งตอนท้ายเรื่องด้วยแล้ว ความพีคของมันเหมือนค่อยๆ ลอยสูงขึ้นสูงขึ้นจนพีคสุด อาจจะไม่ได้ถึงขั้นเรียกน้ำตาได้ แต่ความอิ่มเอมของหนังมีให้อย่างเต็มที่แน่นอน
เป็นที่น่าตกใจ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่แปลกใจ ดูหนังฟรี ที่พบว่าในแต่ละปีมีเด็กหายในประเทศอินเดียกว่า 80,000 คน Saroo Brierley เป็นหนึ่งในนั้น แต่เขาโชคดีที่มีผู้ปกครองใจบุญชาวออสเตรเลียรับไปอุปการะ เขาบันทึกเรื่องราวของเขาเป็นหนังสือ A Long Way Home: A Memoir
หนัง Lion สร้างจากเรื่องจริงของ Saroo Brierley โดยเริ่มเรื่องที่ปี 1986 ในเมือง Khandwa ประเทศอินเดีย ตอนนั้น Saroo อายุ 5 ขวบ เขาพลัดหลงกับพี่ชายของเขา Guddu (Abhishek Bharate) ที่สถานีรถไฟ เขาถูกรถไฟพาไปเมือง Calcutta ซึ่งห่างจากบ้านเขาไปกว่า 1,600 กิโลเมตร
รีวิวหนังฝรั่ง Saroo กลายเป็นเด็กไร้บ้าน (Homeless) อยู่อย่างอดอยากปากแห้งและยังต้องหลบหนีจากพวกแก๊งลักเด็กไปขาย ต่อมาเขาถูกส่งไปอยู่ที่สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าก่อนที่ Sue & John Brierley (Nicole Kidman & David Wenham จาก The Lord of the Rings) สองสามีภรรยาชาวออสเตรเลียจะมารับเขาไปเป็นลูกบุญธรรม
Saroo จากบ้านไกลมาอยู่ Tasmania ประเทศออสเตรเลีย Sue กับ John เลี้ยงดูเขาอย่างดี เขาเรียนต่อการจัดการโรงแรมที่ Melbourne และได้พบรักกับสาวนิวยอร์ก Lucy (Rooney Mara ผู้เข้าชิงออสการ์จาก Carol) เพื่อนร่วมคลาสของ Saroo แนะนำให้เขาตามหาบ้านเกิดของเขาโดยใช้เทคโนโลยี Google Earth เพื่อที่วันนึงเขาจะได้กลับไปหาแม่ (Priyanka Bose) และพี่น้องแท้ ๆ ของเขา
หลายช็อตที่หนังถ่ายทอดเรื่องราวได้โดยที่ตัวละครไม่ต้องพูดอะไรเลยสักคำ เราก็เข้าถึงอารมณ์และความรู้สึก ณ ขณะนั้นได้ อีกทั้งทำให้เราเห็นความ contrast ของโลกคู่ขนานทั้งสองประเทศ ระหว่างอินเดียกับออสเตรเลีย เห็นความยากลำบากของคนยากคนจน รู้สึกตัวเองโชคดีแค่ไหนแล้วที่เกิดมามีบ้านอยู่และมีครอบครัวอยู่ใกล้ ๆ
การถ่ายภาพในหนังของ Greig Fraser (ช่างถ่ายภาพจาก Rogue One, Foxcatcher, Zero Dark Thirty ฯลฯ) ก็งดงามและอัจฉริยะอย่างยิ่ง ดูแล้วชวนให้เข้าถึงอารมณ์ตลอดการเดินทางของ Saroo โดยเฉพาะการถ่ายภาพ landscape จากมุม Bird’s-eye view ที่เข้าคอนเซ็ปต์กับการหาบ้านของตัวละครเอกโดยใช้ Google Earth
รีวิว Lion จนกว่าจะพบกัน
นอกจากงานภาพที่โดดเด่น จุดแข็งของเรื่องนี้คือการแสดงอันทรงพลังของเหล่านักแสดงนำ ตั้งแต่สองหนุ่มที่รับบทเป็น Saroo Brierley นั่นก็คือ Dev Patel กับ Sunny Pawar ทั้งสองทำหน้าที่ในพาร์ทของตนเองได้อย่างยอดเยี่ยม

รีวิว Lion จนกว่าจะพบกัน

ตอนแรกเราก็สงสัยว่าทำไม Dev Patel ได้เข้าชิงสาขานักแสดงสมทบชาย ไม่ใช่สาขานักแสดงนำชาย เพราะเขาเองก็รับบทเป็นตัว Saroo Brierley ซึ่งเป็นตัวละครหลักของเรื่องเลย แต่พอได้ดูหนังจริงจึงเข้าใจ Dev Patel ไม่ได้แบกหนังทั้งเรื่องไว้เพียงคนเดียว นักแสดงอีกคนหนึ่งที่แบกเรื่องราวไว้พอ ๆ กับเขาคือนักแสดงเด็กหน้าใหม่ Sunny Pawar ที่รับบทเป็น Saroo ในวัยเด็ก
กล่าวคือ Sunny Pawar แสดงให้เห็นว่าความยากลำบากของ Saroo วัยเด็กที่อินเดียเป็นอย่างไร เว็บดูหนัง ความเคว้างคว้างในการอยู่อย่างโดดเดี่ยวและหลงทางในเมืองที่ไม่มีใครคุยภาษาเดียวกับเขานั้นเป็นอย่างไร (Saroo พูดภาษาท้องถิ่นคือภาษาฮินดี ในขณะที่คนในเมือง Calcutta พูดภาษาเบงกาลี)
ส่วน Dev Patel ถ่ายทอดความเจ็บปวดและความซับซ้อนทางอารมณ์ของตัวละครได้อย่างดีเยี่ยมจนเกือบจะร้องไห้ตาม หวังว่าเรื่องนี้จะส่งให้เขาไปถึงเวทีออสการ์ได้ เพราะต้นปีเขาก็เล่น The Man Who Knew Infinity เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอินเดียได้อย่างน่าประทับใจ (ถ้าไม่ได้อีก ออสการ์ก็คงจะ So White เกินไปแล้วจริง ๆ) แต่ข้อติงคือ Dev Patel เป็นคนผิวสีน้ำตามที่หล่อมากและหุ่นดีมาก ทั้งรูปร่าง หน้าตา และผิวพรรณต่างจาก Saroo ตัวจริงอยู่โข แถมยังดูเชื่อได้ยากว่าเขาเป็นคนอินเดียที่เกิดในสลัม
อย่างไรก็ดี เนื่องจากในตอนต้นเรื่องหนังพาเราไปสัมผัสประสบการณ์ชีวิตอันแร้นแค้นของ Saroo มาแล้ว ช่วงที่เขาโตมาเป็น Dev Patel มันจึงมีหลายช็อตที่เราอินไปกับมัน เพราะเรามีความทรงจำวัยเด็กและมีประสบการณ์ร่วมไปกับ Saroo (สารภาพว่าตอนแรกแอบเบื่อนะที่เล่าเรื่องช่วงวัยเด็กยาวนาน คืออยากดูตอนโตแล้วอะไรแล้ว แต่ตอนหลังก็เก๊ตละว่าทำไมต้องให้แบคกราวนด์เยอะขนาดนี้)
เราจึงเข้าใจเวลาที่เขานึกถึงช่วงวัยเด็กที่เขาเคยอยากกินอะไรแต่ไม่ได้กินแล้ววันนี้เขาสามารถกินขนมนั้นกี่ชิ้นก็ได้ และเราก็เข้าใจเขา หากเขาจะรู้สึก uncomfortable กับชีวิตอัน comfortable ในปัจจุบัน เพราะครอบครัวของเขาอีกทวีปหนึ่งกำลังอยู่ยากลำบากและอาจเป็นห่วงว่าเขาจะเป็นตายร้ายดีอย่างไร
รีวิว Lion จนกว่าจะพบกัน
แต่คนที่น่าลุ้นออสการ์แน่นอนกว่าคือ Nicole Kidman ผู้รับบทเป็นแม่เลี้ยงของ Saroo ช็อตที่เราชอบของเธอมีอยู่สองซีน ซีนแรกคือซีนที่เธอมอง Saroo เปิดตู้เย็นในบ้านของเธอครั้งแรก ตู้เย็นที่เต็มไปด้วยของกินมากมายต่างจากชีวิตก่อนหน้านี้ของเขาที่แทบไม่มีอันจะกิน เอาจริงซีนนี้ชอบฟีลลิ่งโดยภาพรวมนั่นแหละ มันเป็นภาพที่ไม่ต้องพูดอะไรแต่มีความหมายเป็นร้อยล้านคำ
อีกซีนนึงนี่ชอบที่การแสดงของ Nicole Kidman และไดอะล็อกของ Sue ล้วน ๆ คือตอนที่เธอบอกเหตุผลที่เธอรับ Saroo กับ Mantosh มาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรมแทนที่จะมีลูกแท้ ๆ ที่ให้กำเนิดด้วยตัวเองเอง
Sue กับ John Brierley ไม่สนว่าเด็กที่รับเลี้ยงมาจะเป็นอย่างไร ถึงแม้ Mantosh จะโตมาไม่ได้ดั่งใจ พวกเขาก็ไม่เสียใจที่ตัดสินใจรับเลี้ยง พวกเขามองว่าการผลิตจำนวนประชากรเพิ่มไม่ได้การันตีว่าผลผลิตนั้นจะเป็นผลผลิตที่ดีและช่วยให้สังคมดีขึ้น แต่การช่วยเหลือเด็กกำพร้ามันช่วยให้โลกดีขึ้นมาแน่ ๆ ไม่มากก็น้อย
ทั้งนี้ไม่ใช่แค่ซาบซึ้งกับทัศนคติของพวกเขา แต่แนวคิดนี้ยังทำให้เรานึกย้อนไปถึงสังคมอินเดีย ซึ่งมีประชากรล้นหลาม (แค่แม่ของ Saroo คนเดียวก็มีลูก 4 คนละ) ประชากรส่วนใหญ่ยากจน ประเทศยังห่างไกลจากการพัฒนา (คิดดูสิว่า Saroo จากบ้านไป 25 ปี กลับมาอีกทีอินเดียแทบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นเลย)
เราชอบที่ Lion ไม่ได้เป็นหนังจุดประกายความหวังลม ๆ แล้ง ๆ เว็บดูหนังฟรี ไม่ใช่หนังที่โชว์ให้เห็นว่าพระเอกของเราอยู่รอดได้ด้วยโชคช่วยหรือปาฏิหาริย์ ในทางกลับกัน พระเอกของเรามีสติปัญญา ความอุตสาหะ และหัวใจยิ่งใหญ่ดุจราชสีห์
นอกจากนี้ ดู Lion จบแล้ว เรายังตระหนักได้ถึงสิ่งที่ทำให้โลกของเราและชีวิตของคนคนนึง “ดีขึ้น” ได้อยู่ 2 อย่าง ได้แก่ เทคโนโลยีและการศึกษา ในขณะเดียวกันก็มีอีกสิ่งสำคัญที่ทำให้โลกของเรา “น่าอยู่ขึ้น” ด้วย นั่นก็คือ ความดีและความรัก
นี่คือความจริงแท้ที่เราได้จากหนังเรื่องนี้ และความงดงามของเรื่องราวนี้ทำให้เราเสียน้ำตา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *