รีวิวหนัง The Desperate Hour ฝ่าวิกฤตวิ่งหนีตาย
ถ้าใครชอบหนังที่เล่าเรื่องระทึกขวัญผ่านหน้าจอ รีวิวหนัง The Desperate Hour ฝ่าวิกฤตวิ่งหนีตาย อย่างเช่น ‘Unfriended’ (2014) และ ‘Host’ (2020) และหนังเอาตัวรอดแบบเรียลไทม์อย่าง ‘Buried’ (2010) มาในปีนี้ ผู้กำกับอย่าง ‘ฟิลลิป นอยซ์’ (Phillip Noyce) ผู้กำกับหนังสายลับ ‘Salt’ (2010) ที่มาพร้อมกับผลงานภาพยนตร์สุดระทึกที่ถ่ายทำด้วยโปรดักชันที่เอื้อต่อการถ่ายทำในช่วงโรคระบาด โดยที่หนังเรื่องนี้ที่เคยมีชื่อเดิมว่า ‘Lakewood’ ยังได้มีโอกาสได้รับคัดเลือกให้ฉายรอบปฐมทัศน์ในเทศกาลหนังโตรอนโต (Toronto International Film Festival – TIFF) เมื่อปีที่แล้ว ก่อนจะเปลี่ยนชื่อ (ให้ขายได้) เป็น ‘The Desperate Hour’ หรือ ‘ฝ่าวิกฤต วิ่งหนีตาย’ นั่นแหละครับ
รีวิวหนังฝรั่ง ตัวหนังว่าด้วยเรื่องของเรื่องราวของพนักงานเจ้าหน้าที่สรรพากร ‘เอมี คาร์’ (Naomi Watts) และคุณแม่ลูกสอง ที่สูญเสียสามีและพ่อของลูกด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์เกือบจะครบหนึ่งปี วันหนึ่งเอมีได้เข้าไปวิ่งจ็อกกิงออกกำลังกายในป่าลึก แต่แล้วเธอก็ได้รับแจ้งข่าวร้ายว่า
เกิดเหตุกราดยิงในโรงเรียนที่ ‘โนอาร์’ (Colton Gobbo) ลูกชายคนโต และ ‘เอมิลี’ (Sierra Maltby) เรียนอยู่ เอมีจึงต้องออกวิ่งไปยังโรงเรียนที่เกิดเหตุ ซึ่งอยู่ห่างออกไปไกลจากป่าหลายไมล์ เพื่อหวังจะช่วยเหลือลูก ๆ ของเธอให้พ้นจากเงื้อมมือของมือปืนที่อาจก่อเหตุได้ทุกเมื่อ โดยมีโทรศัพท์เป็นอุปกรณ์เพียงอย่างเดียวที่จะช่วยให้เธอคลี่คลายเหตุสุดระทึกนี้ไปได้
ซึ่งตัวหนังตลอดเกือบ ๆ 84 นาที เราก็จะได้เห็นขุ่นแม่ ‘เอมี คาร์’ อยู่ในป่าลึกโดยที่แทบจะไม่ตัดไปซีนอื่นเลย เธอต้องพยายามวิ่งเดินทางออกจากป่าเลกวูด (Lakewood) เพื่อไปช่วยเหลือลูกชาย และมีโทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์เพียงอย่างเดียวในการเอาตัวรอด รับรู้สถานการณ์ และรับรู้ข้อมูลต่าง ๆ ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในโรงเรียน ตัวหนังในส่วนนี้ก็เลยจะเล่าเสมือนว่าคนดูก็กำลังอยู่ในป่าไปพร้อมกัน และค่อย ๆ ปะติดปะต่อข้อมูลชที่เอมีได้จากการพยายามโทรศัพท์ แชต และสืบค้นหาข้อมูล พร้อมกับความกดดันที่ทวีเพิ่มขึ้นแบบเรียลไทม์
เอาจริง ๆ หนังเรื่องนี้ก็มีความคล้าย ๆ กับหนังเรื่อง ‘The Call’ (2013) ที่ใช้โทรศัพท์เป็นตัวกลางในการเอาตัวรอดจากการโดนลักพาตัวนั่นแหละครับ เพียงแต่ว่าหนังเรื่องนี้ใจกล้ากว่ามากที่พยายามจะเล่นกับเทคนิคในการนำเสนอผ่านการใช้โทรศัพท์ของเอมี ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ แต่ก็จะต้องค้นหาให้ได้ว่าเกิดเหตุอะไรขึ้นบ้าง และค้นหาเบาะแสเว็บดูหนังฟรี เกี่ยวกับเหตุกราดยิง โดยที่แทบจะไม่ตัดให้เห็นเหตุการณ์นอกป่า หรือเหตุการณ์ในโรงเรียนเลยแม้แต่น้อย ส่วนตัวละครอื่น ๆ ก็จะมาในรูปแบบเสียงหรือข้อความซะเป็นส่วนใหญ่
จุดเด่นของหนังเรื่องนี้ จริง ๆ ก็ถือว่าเป็นหนังที่มีพล็อตและเข้าใจพล็อตเป็นอย่างดีนะครับ ซึ่ง ‘คริส สปาร์กลิง’ (Chris Sparling) ที่เคยเขียนบทหนังเอาตัวรอด ‘Buried’ (2010) มาก่อน สามารถวางพล็อต และเพิ่มระดับความกดดันในการเอาตัวรอดของเอมีกับโทรศัพท์หนึ่งเครื่องได้อย่างน่าสนใจ และมีวิธีการเล่าเรื่องแบบผ่อนหนักผ่อนเบา คือเรียกว่าตั้งแต่ต้นเรื่อง เราก็จะได้เห็นเอมีลงไปวิ่งในป่ากันตั้งแต่เนิ่น ๆ และค่อย ๆ ผ่อนการเล่าเรื่องให้ช้าลง สลับกับการเร่งจังหวะในช่วงเหตุการณ์ที่พีกขึ้นได้อย่างน่าติดตาม
อีกจุดที่ถือว่าทำได้ออกมาสนุกก็คือ การประยุกต์ใช้ฟังก์ชันต่าง ๆ ในโทรศัพท์ออกมาเล่าเรื่องได้อย่างน่าสนใจครับ เราจะได้เห็นเอมีค่อย ๆ เอาตัวรอดจากป่า และค่อย ๆ เอาชนะ Conflict ทีละปม ๆ ด้วยการใช้โทรศัพท์ iPhone โทรหาคนนั้นคนนี้
แชตคุย ใช้แอป ใช้อินเทอร์เน็ตหาข้อมูล ดูคลิป Live ข่าว ฯลฯ แล้วก็เอาข้อมูลมาปะติดปะต่อ พร้อม ๆ กับการเดินทางในป่าทีี่แทบไม่มีใครเดินทางผ่านมา ซึ่งผู้เขียนก็แอบสงสัยอยู่เหมือนกันว่า ปกติถ้าใช้โทรศัพท์หนักขนาดนั้น แบตเตอรี่ไม่หมดบ้างเลยเหรอ ถ้าเอาตามจริง ใข้หนักขนาดนี้ต้องงัดพาวเวอร์แบงก์มาเสียบชาร์จแล้วนะ (555)
และพอตัวหนังเล่าด้วยพลังของคน ๆ เดียว ก็เลยกลายเป็นว่า ตัวหนังถูกผลักให้ต้องใช้ฝีมือการแสดงของ ‘นาโอมิ วัตส์’ (Naomi Watts) ในการแบกหนังทั้งเรื่องแต่เพียงลำพัง ซึ่งจริง ๆ เว็บดูหนัง เธอ (และ iPhone 1 เครื่อง) ก็ทำได้ค่อนข้างดีนะครับ โดยเฉพาะการสะท้อนภาพความว้าวุ่นใจของแม่ที่มีลูกที่ตกอยู่ในสถานการณ์อันตรายที่ต้องการเดินทางไปหาลูกที่อยู่ไกลออกไป และโทรศัพท์ก็คือที่พึ่งหนึ่งเดียวที่จะทำให้เธอพอจะทราบสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ ทำให้หนังในครึ่งแรกเป็นหนังทริลเลอร์ที่ชวนให้ลุ้นจิกเบาะได้เลยแหละ
แต่ปัญหาที่แท้จริงกลับอยู่ที่ครึ่งหลังของหนังครับ แม้ครึ่งแรกจะดำเนินเรื่องได้อย่างสนุก ภายใต้สถานการณ์ที่เริ่มตึงเครียดขึ้นเรื่อย ๆ และสถานการณ์ทั้งในป่า ดูหนังออนไลน์ และสถานการณ์ของผู้คนที่เอมีโทรไปขอความช่วยเหลือก็มีแต่จะยิ่งยุ่งยากวุ่นวายขึ้นทีละนิด แต่สิ่งที่เป็นปัญหาในช่วงครึ่งหลัง กลับมีปัญหาหลายจุดที่ซ้อนทับกันอยู่
ประเด็นแรกก็คือ ประเด็นการกราดยิงโรงเรียนที่หนังเรื่องนี้หยิบมานำเสนอครับ เอาเข้าจริง ประเด็นเรื่องการกราดยิงที่เรามักได้ยินข่าวจากต่างประเทศนี่ถือว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับพ่อแม่ชาวอเมริกันมากนะครับ การหยิบเรื่องใหญ่ขนาดนี้มาเล่น ต้องนำเสนอด้วยสารและเรื่องที่แข็งแกร่งและจริงจังมากพอ แต่ด้วยเทคนิควิธีการของหนังที่พยายามบีบให้คนดูเชื่อวิธีการของเอมีเท่านั้น ทำให้สารที่ปรากฏในหนัง แทนที่จะสะท้อนความน่ากลัว ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุกราดยิง หรือชี้นำวิธีการเอาตัวรอดของแม่และเด็ก ฯลฯ
แต่กลับกลายเป็นว่า ตัวหนังกลับพยายามทำให้การกราดยิงกลายเป็นเพียงฉากแอ็กชันลุ้นระทึกฉากหนึ่ง และนั่นก็ทำให้เอมีเริ่มเลยเส้นออกไปแทรกแซงเหตุการณ์ที่กำลังหน้าสิ่วหน้าขวานด้วยตัวเองในองก์สุดท้ายซะอย่างนั้น กลายเป็นว่า เอมีผู้เป็นแม่ของผู้ประสบเหตุ ต้องกลายเป็นนักสืบ และก็กลายมาเป็นฮีโรไปเสียอีก และยิ่งเมื่อไปเปรียบเทียบกับตัวมือปืน ก็ยิ่งทำซ้ำภาพให้ชัดขึ้นว่า หนังต้องการเชิดชูให้เอมีกลายเป็นผู้มีมนุษยธรรมที่ต้องคอยห้ามปรามไอ้หนุ่มคนร้ายที่ก่อเหตุไปเพราะไม่ได้มีเหตุจูงใจอะไรเป็นพิเศษ (เพียงเพื่อจะช่วยลูกตัวเองเท่านั้นแหละ)
หนังใหม่ และหลายครั้ง การที่เอมีเข้าไปยุ่มย่ามสืบเสาะคดีเองโดยไม่พึ่งพาตำรวจ ก็ยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลงกว่าเดิม และยิ่งแย่ซ้ำร้ายลงไปอีกเมื่อเอมีต้องรับหน้าที่ช่วยเหลือตำรวจทั้ง ๆ ที่ตัวเองมีเพียงข้อมูลที่หาได้จากในอินเทอร์เน็ต ซึ่งจริง ๆ ถือว่าเป็นเรื่องที่สุ่มเสี่ยงและอันตรายมาก สิ่งนี้ยิ่งไปทำให้เจตนาของตัวหนัง (และ End Credits พร่ำสอนท้ายเรื่อง) สะท้อนออกมาว่า เหตุการณ์กราดยิง เป็นเพียงเหตุการณ์แอ็กชันจิ๊บจ๊อย ที่แก้ไขได้ด้วยวิธีการนอกลู่นอกทาง (ที่ไม่จำเป็นต้องรอเจ้าหน้าที่ตำรวจ) เท่านั้นเองหรือเปล่า
รวมทั้งการที่ตัวบทไม่ค่อยให้น้ำหนักกับการอธิบายปูเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวเอาไว้มากพอ ทำให้เมื่อตัวหนังเดินเข้าไปสู่ Conflict หลักอันหนึ่งของเรื่อง ก็ทำให้ Conflict นั้นดูจะไม่ค่อยสมเหตุสมผลสักเท่าไหร่ แม้ว่าไดอะล็อกของเอมีจะพยายามโน้มให้เชื่อว่า
หนังใหม่ มีเหตุจูงใจที่พอจะเป็นไปได้ แต่พอการปูเรื่องตัวละครมันบางมาก โดยเฉพาะปมเรื่องของการเสียชีวิตของพ่อ และความเศร้าของโนอาห์ ทำให้แทนที่ตัวพล็อตจะหักมุมให้รู้สึกเขย่าขวัญ แต่กลายเป็นเพียง Conflict อันหนึ่งที่มาและจากไปแบบเบาโหวง และยิ่งพาให้หนังในช่วงครึ่งหลังดูไม่ค่อยน่าเชื่อถือ และดูไม่น่าเอาใจช่วยไปเสียอย่างนั้น
โดยสรุป แม้ตัวหนังครึ่งหลังจะมีปัญหาใหญ่ ๆ แต่ถ้าไม่คิดอะไรมาก หนังเรื่องนี้ก็ยังถือว่าเป็นหนังแนวทริลเลอร์ที่มีกิมมิกให้ได้ลุ้นไปพร้อม ๆ กับแม่ (ที่ไม่ใช่แม๊) ได้แบบไม่ต้องคิดมากตลอดความยาว 84 นาที แต่สิ่งที่ยังไงก็หนีไม่พ้นสำหรับหนังแนว ๆ นี้ก็คือ หนึ่ง อย่างไรก็ตาม การสปอยล์หนังเรื่องนี้ก็ยังถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเกลียด ใครอยากรู้ก็ต้องไปดูในโรงกันเอาเองนะครับ
รีวิวหนัง The Desperate Hour ฝ่าวิกฤตวิ่งหนีตาย
และสอง ด้วยการที่หนังใช้เทคนิคแบบนี้ มันก็ปฏิเสธไม่ได้นะครับว่า เทคนิคเหล่านั้นจะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อตอนที่ดูหนังเป็นครั้งแรกเท่านั้น เพราะรู้เทคนิคและกิมมิกไปจนหมดแล้ว และถ้าบทไม่ได้แข็งแรงมากพอ หรือมีจุดที่ทำให้เชื่อและเอาใจช่วยได้ขนาดนั้น มันก็จะทำให้ตัวหนังไม่ได้ทำให้เรารู้สึกเอาใจช่วยได้อย่างสุดตัว และส่งผลทำให้เราจะดูหนังเรื่องนั้น ๆ ได้เพียงครั้งเดียว ซึ่งหนังเรื่องนี้ก็เข้าข่ายนั้นด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ก็คงต้องบอกว่า The Desperate Hour เป็นหนังที่ดูได้สนุกไม่ยากเลย อีกทั้งสกิลขั้นเทพของ นาโอมิ วัตส์ ก็แทบไม่ต้องระแคะระคายใดๆ เลย เพราะเธอก็คือนักแสดงที่ยอดเยี่ยมและแบกรับหนังทั้งเรื่องนี้เอาไว้เพียงคนเดียวได้สบายๆ อยู่แล้ว มาดูในองค์ประกอบอื่นๆ ของหนังดีกว่า คงต้องชื่นชมสักหน่อยกับการเลือกวิธีเล่าเรื่องในสไตล์นี้ ที่เป็นการจดจ่ออยู่กับบุคคลเดียวในสถานการณ์คับขัน ที่การใช้วิธีนี้ค่อนข้างสุ่มเสี่ยง ไม่ปังก็คือพังไปเลย
หนังแนวๆ นี้ที่เราเคยได้เห็นล่าสุดก็น่าจะเป็น “The Guilty” ที่ เจค จิลเลนฮาลล์ แสดงเอาไว้เมื่อปีที่แล้ว เรื่องนั้นก็ต้องยกความดีความชอบให้กับเจค ที่แสดงได้กัดกินใจในทุกส่วนประกอบ แต่ใน The Desperate Hour เป็นผลงานของนักสร้างหนังรุ่นเก๋า “ฟิลลิป นอยซ์” ที่ในยุคหลังๆ ผลงานของเขาก็ค่อนข้างเป๋ไปหน่อย หนังใช้สูตรคล้ายๆ กัน แต่มีกลิ่นดูหนังฟรี อายเหมือนกับเรื่อง “Buried” ของ ไรอัน เรย์โนลด์ส มากกว่า
ประเด็นในหนังสามารถบีบคั้นเร้าใจคนดูได้ดีอยู่แล้ว เพียงแต่ข้อจำกัดในการใช้วิธีเล่าเรื่องเช่นนี้ บางมุมก็ทำให้คนดูรู้สึกลุ้นตามอย่างจดจ่อ แต่ในอีกมุมก็ทำให้รู้สึกว่าเป็นมุมมองหนังที่น่าอึดอีด หากเล่าขยายมุมมองมากกว่านี้ก็น่าจะประทับใจได้อีกแบบเช่นกัน ตลอดเวลา 84 นาทีของหนังก็คือโฟกัสอยู่ที่ นาโอมิ วัตส์ ได้สัก 80 นาทีได้แล้ว คุณจะไม่ได้เห็นอะไร นอกจากนาโอมิวิ่งๆ และวิ่ง พร้อมกับคุยโทรศัพท์ไปเรื่อยๆ
หนังหยิบเอาไว้ประเด็นเหตุการกราดยิงภายในโรงเรียนที่เป็นปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในอเมริกามาใส่เอาไว้ในเรื่องนี้ โดยให้คนดูรับรู้ข่าวสารข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ ผ่านจากตัวละครหลักตัวเดียวเท่านั้น เป็นกิมมิกที่น่าสนใจ แต่ก็ยังไม่ได้น่าประทับใจถึงขั้นร้องว้าวอะไรขนาดนั้น ประเด็นที่ค่อนข้างขึงขังและแข็งแรง แต่ในท้ายที่สุดแล้วก็ยังถ่ายทอดออกมาได้ไม่สุดทางสักเท่าไหร่
ต้องขอบคุณพลังการแสดงและความเป็นมืออาชีพของ นาโอมิ วัตส์ โดยแท้ ที่สามารถประคองหนังเรื่องนี้ไปได้ตลอดรอดฝั่ง แม้ว่านี่จะไม่ใช่ผลงานที่น่าประทับใจในเครดิตการแสดงของเธอเลยก็ตาม แต่การรับหน้าที่แบกเดี่ยวหนังทั้งเรื่องอย่างโดดเดี่ยวในครั้งนี้ของเธอ ก็ถือว่าสอบผ่านไปได้เลย ถึงโดยภาพรวมแล้ว The Desperate Hour จะยังค่อนข้างเป็นหนังที่อยู่ในเซฟโซนเป็นสูตรสำเร็จ ไม่มีอะไรแปลกใหม่ แต่อย่างน้อยๆ ก็มีเนื้อหาที่ระทึกใจส่งถึงคนดูได้ดี ถึงจะแค่มุมมองเดียวก็ตามเถอะ